Elsa - Disney's Frozen Fluttershy - Busy

วันพฤหัสบดีที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ใบงานที่ 3 พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์

   
         
              ช่วงเวลานี้ ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตมีจำนวนมากขึ้น   โดยเฉพาะ Social network ก็ใช้กันแพร่หลาย ในการติดต่อสื่อสารหาเพื่อนๆ ตลอดจนดาราใช้ติดต่อกับแฟนคลับจำนวนมาก ไม่เว้นแบรนด์เอเจนซี โฆษณาต่างๆยังใช้ Social Network ด้วย แต่ก็มีหลายเหตุการณ์ที่คุณอาจไม่ทราบว่า สิ่งที่ทำแบบนี้ อาจทำให้ตนเองทำผิด พรบ คอมพิวเตอร์ ปี 2550 ด้วย ซึ่งตอนนี้มีผลบังคับใช้ในไทยแล้ว ณ เวลานี้

10354188-computer-with-cartoon-kids-and-dog
                                                          CreditBy: https://somsak4301.wordpress.com/%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B9%82%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%A2%E0%B8%B5%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%84%E0%B8%AD/


พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ฉบับบ ปี 2558

     
             ในวันที่ 4 สิงหาคมนี้เป็นต้นไป พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฉบับใหม่ จะมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการโดยมีชื่อเต็มๆว่า พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2)ปี 2558 เพื่อป้องกันการนำข้อมูลในโซเชียลมีเดียของคนอื่นไปเผยแพร่ในโลกออนไลน์โดยไม่ให้เครดิต ถือเป็นการลงโทษนักก๊อปปี้ นักแชร์ข้อมูลก็ว่าได้ โดย สาระสำคัญของการแก้ไขพ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฉบับใหม่นี้กำหนดอัตราโทษนักก๊อบปี้นักแชร์ทั้งหลายที่ไม่ให้เครดิตเจ้าของผลงานปรับ 1 หมื่น-1 แสนบาท หากกระทำเพื่อการค้ามีโทษปรับตั้งแต่ 5 หมื่น-4 แสนบาทและเพิ่มเติมมา8ประเด็นสำคัญใน พ.ร.บ.ด้วย (มีเพลท ins)

1.คุ้มครองสิทธิของตนเองไม่ให้คนอี่นมาลบหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลเกี่ยวกับชื่อเจ้าของลิขสิทธิ์
2.คุ้มครองงานลิขสิทธิ์ที่เจ้าของใส่พาสเวิร์ดเอาไว้หากมีการเจาะข้อมูลจะถือว่ามีความผิด
3.กรณีทำซ้ำชั่วคราว เช่น ดูหนังฟังเพลง ไม่ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์
4.เจ้าของลิขสิทธิ์ร้องขอให้ศาลสั่งให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเอาไฟล์ละเมิดลิขสิทธิ์ออกจากเว็บไซต์ได้
5.การขายภาพเขียน หนังสือ ที่มีลิขสิทธิ์ ไม่ผิดกฎหมายลิขสิทธิ์ แต่ถ้าเป็นซีดีเพลง ซีดีภาพยนตร์ แม้ไม่ผิดกฎหมายลิขสิทธิ์ แต่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยภาพยนตร์และวิดีทัศน์ด้วย
6.เพิ่มสิทธินักแสดงโดยให้มีสิทธิระบุชื่อตนในการแสดงที่ตนได้แสดง และห้ามไม่ให้บุคคลใดกระทำต่อการแสดงของตนจนทำให้เกิดความเสียหายต่อชื่อเสียงหรือเกียรติคุณ
7.ศาลมีอำนาจสั่งให้ผู้ละเมิดจ่ายค่าเสียหายเพิ่มขึ้นไม่เกินสองเท่าของค่าเสียหาย และ 8.ศาลมีอำนาจสั่งริบหรือทำลายสิ่งที่ได้ใช้ในการกระทำละเมิด และสิ่งที่ได้ทำขึ้นหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงได้
     
             
  ขณะที่ในโลกออนไลน์โดยเฟชบุ๊คที่ใช้ชื่อว่า รู้ทันแมว ได้ทำเพลทที่ชื่อว่า รูปในเน็ตใช้อย่างไรไม่ละเมิดลิขสิทธิ์อธิบายให้ชาวโซเชียลเข้าใจง่ายๆ ซึ่งมีการแชร์และส่งต่อกันเป็นจำนวนมาก โดยเนื้อหานั้นอธิบายแบ่งเป็นสองส่วนค่ะ ละเมิดและไม่ละเมิด

โดยส่วนที่เป็นการละเมิดนั้น ส่วนใหญ่คือนำข้อมูล รูปภาพไปทำประโยชน์ทางการค้า นำมาซึ่งรายได้ เช่น ไปสกรีนเป็นลายเสื้อแล้ว ทำเว็บไซต์บริษัท องค์กร ร้านค้า หรือเว็บอะไรก็ตามที่ทำให้เกิดรายได้โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของรวมไปถึงนำไปประกอบบทความ ก๊อปปี้จาก facebook คนอื่นมาไว้ของตัวเองแล้วตัดเครดิตออกไม่ใช้เครดิตหรือนำมาตัดต่อหารายได้เข้าข่ายละเมิดเช่นกัน
แล้วทำอย่างไรถึงจะไม่ถือว่าเป็นการละเมิด ก็อย่างเช่น ใช้ทำ presentation ใช้ในการประชุมภายในองค์กร ประกอบรายงานส่งอาจารย์ เนื้อหาการเรียนโดยไม่เกิดรายได้ แต่ต้องให้เครดิตภาพแหล่งที่มาด้วย หรือถ้าเอาใช้เป็น wallpaper หน้าจอคอมพิวเตอร์ส่วนตัวอันนี้ได้ไม่ถือว่าละเมิด หรือไปกด like กดแชร์ ติชม รูปก็ได้เช่นกันเพราะไม่ก่อให้มีรายได้ขึ้นมา หรือสุดท้ายทางที่ดีปลอดภัยที่สุดถ้าต้องการใช้ข้อมูลรูปภาพนั้นจริงๆ ก็ตกลงกับเจ้าของข้อมูลเลยค่ะโดยกำหนดเงื่อนไขระหว่างกัน

                    
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ พรบ คอมพิวเตอร์







   
                      ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.... หรือ ร่างแก้ไข พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ เป็นหนึ่งใน "ชุดกฎหมายความมั่นคงดิจิทัล 10+3 ฉบับ" ที่คณะรัฐมนตรีอนุมติหลักการไปแล้วด้วยเหตุผลว่าเพื่อรองรับ “การพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล” 
พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ พ.ศ.2550 ฉบับที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เป็นกฎหมายฉบับหนึ่งที่สังคมวิพากษ์วิจารณ์กันมาก เพราะพบปัญหาจากการบังคับใช้หลายประเด็น เช่น การนำมาใช้กับความผิดด้านความมั่นคงมากกว่าความผิดเกี่ยวกับการเจาะระบบ การกำหนดความรับผิดของผู้ให้บริการไว้กว้างเกินไปทำให้เกิดบรรยากาศการเซ็นเซอร์ตัวเอง การตีความมาตรา 14(1) เพื่อใช้กับการหมิ่นประมาทออนไลน์ซึ่งผิดเจตนารมณ์ 
                     ประสบการณ์ที่ผ่านมาพบว่า การบังคับใช้กฎหมายฉบับนี้ส่งผลกระทบต่อการใช้เสรีภาพการแสดงความคิดเห็นบนโลกออนไลน์อย่างมาก และกฎหมายไม่ได้ถูกนำมาใช้ตามวัตถุประสงค์ที่แท้จริง คือ เพื่อแก้ปัญหาการกระทำความผิดต่อระบบคอมพิวเตอร์ หรือการฉ้อโกงหลอกลวงทางอินเทอร์เน็ต 
          ร่างแก้ไข พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการ จึงมุ่งแก้ไขหลายประเด็น ดังนี้
      แก้มาตรา 14(1) มุ่งเอาผิดการฉ้อโกง ไม่รวมการหมิ่นประมาทออนไลน์
พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ พ.ศ.2550 มาตรา 14(1) มีวัตถุประสงค์มุ่งเอาผิดการทำเว็บไซต์ปลอมเพื่อหลอกลวงผู้บริโภค หรือ ที่เรียกว่า Phishing และการใช้ไฟล์ปลอมเพื่อแฝงตัวเข้ามาทำลายระบบคอมพิวเตอร์ แต่เนื่องจากกฎหมายเดิมเขียนเอาไว้ว่า “ผู้ใด... นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอม หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน” ทำให้มาตรานี้ถูกตีความไปใช้ลงโทษการโพสต์ข้อความหมิ่นประมาท หรือการใส่ความกันบนโลกออนไลน์ ซึ่งเป็นการบังคับใช้ที่ผิดวัตถุประสงค์ และกระทบต่อการใช้เสรีภาพในการแสดงออกอย่างมาก

[อ่านรายงาน การบังคับใช้มาตรา 14(1) กับการหมิ่นประมาทออนไลน์]
ร่างแก้ไข พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับนี้จึงแก้ไข มาตรา 14(1) เป็น
           “มาตรา 14 ผู้ใดโดยทุจริตนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จทำให้ได้ไปซึ่งทรัพย์สินหรือข้อมูลส่วนบุคคลของผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”
ร่างฉบับแก้ไขกำหนดชัดขึ้นว่าความผิดตามมาตรานี้ต้องเป็นการ “ทำให้ได้ไปซึ่งทรัพย์สินหรือข้อมูลส่วนบุคคล” ทำให้การโพสต์ข้อความหมิ่นประมาทบนโลกออนไลน์ไม่เข้าข่ายความผิดตามกฎหมายนี้อีกต่อไป หากร่างกฎหมายนี้ถูกประกาศใช้ คดีที่ฟ้องร้องกันอยู่ในชั้นศาลต้องพิพากษายกฟ้อง และหากมีคดีที่จำเลยกำลังรับโทษอยู่จำเลยจะพ้นโทษทันที
นอกจากนี้ มาตรา 14 ตามร่างแก้ไข พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ยังกำหนดว่า หากเป็นการนำเสนอข้อมูลเท็จ “ต่อประชาชน” โทษก็จะสูงขึ้นเป็นจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และยังกำหนดให้ความผิดฐานนี้ เป็นความผิดอันยอมความได้ด้วย
เข้มงวดเรื่อง “ภาพโป๊เด็ก” จัดทำ-เผยแพร่-ครอบครอง โทษคุกหกปี
พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ พ.ศ.2550 ไม่มีความผิดเฉพาะเกี่ยวกับภาพลามกอนาจารของบุคคลอายุไม่เกินสิบแปดปี ซึ่งเป็นความผิดที่ยอมรับกันในระดับสากล ดังนั้น ร่างแก้ไขพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ จึงเพิ่มประเด็นนี้ให้ชัดเจน โดยเขียนเป็นมาตรา 16/1
นอกจากจะมุ่งลงโทษการกระทำที่เป็นการ “นำเสนอหรือจัดให้มี” “แจกจ่ายหรือโอนถ่าย” และ “จัดหามาให้” ซึ่งรูปภาพลามกอนาจารแล้ว ยังกำหนดว่าการ “จัดทำ” เพื่อการแจกจ่ายผ่านระบบคอมพิวเตอร์ หรือการ “ครอบครอง” เพื่อวัตถุประสงค์แห่งการค้าหรือเพื่อหากำไร ก็เป็นความผิด มีโทษจำคุกไม่เกิดหกปี ปรับไม่เกินสองแสนบาท 
ข้อสังเกตประการแรก ต่อร่างแก้ไข พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ในประเด็นนี้ คือ หากมีการจับกุมบุคคลที่จัดทำรูปภาพลามกอนาจาร หรือตรวจพบว่ามีการครอบครองรูปภาพลามกอนาจาร ก็ยากที่จะพิสูจน์เจตนาได้ว่ารูปภาพเหล่านั้นมีไว้เพื่ออะไร การเขียนกฎหมายให้การครอบครองหรือการมีไว้เป็นความผิด ย่อมเสี่ยงต่อการใช้กฎหมายไปกลั่นแกล้งจับกุมผู้บริสุทธิ์
ข้อสังเกตประการที่สอง คือ คำว่า “ลามกอนาจาร” นั้นยังไม่มีกฎหมายฉบับใดกำหนดนิยามไว้อย่างชัดเจน แนวการตีความของศาลฎีกา ไม่ได้พิจารณาว่าโป๊มากน้อยแค่ไหนจึงเข้าข่ายลามกอนาจาร แต่จะพิจารณาว่ารูปภาพมีลักษณะยั่วยุให้เกิดอารมณ์ทางเพศหรือไม่ ซึ่งยังไม่แน่ชัดว่าการเผยแพร่รูปภาพของเด็กแรกเกิดที่ไม่ได้ใส่เสื้อผ้า หรือรูปภาพการ์ตูน หรือรูปภาพโป๊ที่เกิดจากการตัดต่อ จะเป็นความผิดหรือไม่

Photobucket - Video and Image Hosting

      
                ผู้ดูแลเว็บไซต์มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตาม "ขั้นตอนการแจ้งเตือน"  ตามมาตรา 15 ของ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ พ.ศ.2550 ประเด็นความรับผิดของ “ผู้ให้บริการ” เป็นปัญหาใหญ่ เพราะกฎหมายเดิมกำหนดไว้ว่า ผู้ให้บริการที่ “จงใจสนับสนุนหรือยินยอม” ให้มีการกระทำความผิดเกิดขึ้นในระบบคอมพิวเตอร์ที่ดูแลอยู่ ต้องรับโทษเท่ากับผู้กระทำความผิด ซึ่งเป็นการสร้างภาระทางกฎหมายให้ผู้ดูแลเว็บไซต์เป็นอย่างมาก เว็บไซต์หลายแห่งจึงยกเลิกบริการพื้นที่แสดงความคิดเห็นอย่างเช่น เว็บบอร์ด และต้องคอยเซ็นเซอร์เนื้อหาบนโลกออนไลน์โดยการลบข้อความที่แม้ยังไม่แน่ใจว่าจะเข้าข่ายผิดกฎหมายหรือไม่ เพื่อความปลอดภัยของตัวเอง
ร่างแก้ไข พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับนี้ แม้จะยังกำหนดให้ผู้ให้บริการต้องรับผิดเท่ากับผู้กระทำความผิด แต่ก็เพิ่มบทบัญญัติขึ้นมาว่า
           “ถ้าผู้ให้บริการที่พิสูจน์ได้ว่าตนได้ปฏิบัติตามขั้นตอนการแจ้งเตือน การระงับการทำให้แพร่หลายของข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือการนำข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นออกจากระบบตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ” 
สำหรับ “ขั้นตอนการแจ้งเตือน” ตามที่ร่างฉบับนี้เขียนไว้จะมีรายละเอียดอย่างไร และสร้างภาระให้กับผู้ให้บริการในโลกออนไลน์มากน้อยแค่ไหน ยังต้องขึ้นอยู่กับกฎระเบียบที่จะออกมาในอนาคต จึงยังไม่แน่ชัดว่าร่างฉบับนี้จะสามารถแก้ไขปัญหาที่มีอยู่เดิมได้หรือไม่
แกะรอยอาชญากร ด้วยข้อมูลการใช้งานคอมพิวเตอร์
ตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ พ.ศ.2550 การที่ตำรวจจะสืบหาตัวคนร้ายด้วยการแกะรอยจากข้อมูลการใช้งานคอมพิวเตอร์ ต้องเป็นคนร้ายที่ต้องสงสัยว่ากระทำผิดตาม “พระราชบัญญัตินี้” หรือเป็นความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เท่านั้น หากเป็นความผิดตามกฎหมายอื่น ตัวอย่างเช่น นายพรชัย แชทคุยกับ ด.ญ.สวย แล้วล่อลวงผ่านการแชทพา ด.ญ.สวย ไปทำอนาจาร ตำรวจไม่อาจขอข้อมูลจากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต เพื่อหาว่านายพรชัยเข้าใช้งานอินเทอร์เน็ตจากบริเวณใด เพื่อตามจับตัวนายพรชัยได้
      ตามร่างแก้ไขพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ กำหนดว่า เจ้าหน้าที่อาจขอข้อมูลการใช้งานคอมพิวเตอร์ของผู้ต้องสงสัยว่า “กระทำความผิดที่มีระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาเกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นความผิดตามกฎหมายใด...” หมายความว่าตำรวจอาจแกะรอยผู้ต้องสงสัยด้วยวิธีการขอข้อมูลจากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตได้ในกรณีที่เป็นความผิดที่ “มีระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาเกี่ยวข้อง” ซึ่งเป็นการขยายขอบเขตจากกฎหมายเดิม ให้รวมไปถึงความผิดตามกฎหมายอื่นๆ ที่มีการกระทำผ่านระบบคอมพิวเตอร์ด้วย
      หากร่างกฎหมายนี้ถูกประกาศใช้ กรณี นายพรชัย แชทคุยกับ ด.ญ.สวย แล้วล่อลวงผ่านการแชทพา  ด.ญ.สวย ไปทำอนาจาร ตำรวจสามารถแกะรอยหาตัวนายพรชัย ด้วยวิธีการขอข้อมูลการใช้งานโปรแกรมแชทผ่านผู้ให้บริการได้
แต่หากเป็นกรณี นายพรชัยฆ่าคนตาย โดยวิธีการฆ่าคนไม่ได้มีคอมพิวเตอร์เข้ามาเกี่ยวข้องเลย ตำรวจก็ยังไม่สามารถอาศัย พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ แกะรอยหาตัวนายพรชัย ด้วยวิธีการขอ ข้อมูลการใช้งานอินเทอร์เน็ตจากผู้ให้บริการได้
      นอกจากนี้ร่างแก้ไข พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ยังแก้ไขมาตรา 11 กำหนดเรื่องการส่งอีเมล์รวบกวน หรือ การส่งสแปม (Spam) โดยไม่เปิดโอกาสให้ผู้รับบอกเลิก ให้มีโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท, แก้ไขมาตรา 12 กำหนดให้การเจาะข้อมูลคอมพิวเตอร์ การเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ การดักข้อมูลคอมพิวเตอร์ ในกรณีที่เกี่ยวกับความมั่นคงของประเทศ เป็นความผิดที่มีโทษจำคุกหนึ่งปีถึงเจ็ดปี ปรับสองหมื่นถึงหนึ่งแสนสี่หมื่นบาท

              ในแง่การปิดกั้นการเข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือการ “บล็อคเว็บ” ก็ลดขั้นตอนให้เจ้าหน้าที่ขอคำสั่งศาลอย่างเดียว ไม่ต้องให้รัฐมนตรีเป็นผู้เห็นชอบก่อน และกำหนดให้เจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งให้ผู้ให้บริการเก็บข้อมูลการใช้งานคอมพิวเตอร์ไว้เป็นเวลาเกินกว่า 90 วัน แต่ไม่เกินสองปีได้ ซึ่งตามกฎหมายเดิมผู้ให้บริการมีหน้าที่เก็บไว้เพียงไม่เกิน 90 วันเท่านั้น





ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ คอมพิวเตอร์

                                                                 Credit By:https://www.mindmeister.com/306496542/_



พ.ร.บ คอมพิวเตอร์ปี 2559


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ พรบ คอมพิวเตอร์
                                                   
                                                   
Credit By: https://ilaw.or.th/node/4092

                   พ.ร.บ คอมพิวเตอร์ปี 2559 คือร่างแก้ใขของ พ.ร.บ คอมพิวเตอร์ปี 2550 ที่ถูกปรับปรุงให้ทันสมัย เหมาะสมกับเวลาและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป ดังนั้นโครงสร้างของกฎหมายสองฉบับจึงเหมือนกันเป็นส่วนใหญ่ และแน่นอนกฏหมายทั้งสองฉบับก็ต้องมีส่วนที่แตกต่างกันอยู่หลายประเด็น และหลายๆ ประเด็นก็ถูกตั้งคำถามมากมายว่าเป็นธรรมหรือไม่ เหมาะสมหรือไม่?

      พ.ร.บ คอมพิวเตอร์ปี 2559 ถูกเริ่มร่างเมื่อปี 2558  และยังคงแก้ใขต่อเนื่องมาถึงปี 2559 ดังนั้น พ.ร.บ คอมพิวเตอร์ปี 2558 ก็คือฉบับเดียวกันกับพ.ร.บ คอมพิวเตอร์ปี 2559 นั่นเอง

เนื้อหาสำคัญของ พ.ร.บ คอมพิวเตอร์ปี 2559 ตามที่ Posttoday นำเสนอมีดังนี้
      การประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) วันที่ 28 เม.ย. จะมีการพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ …) พ.ศ… วาระที่ 1 ขั้นรับหลักการ ซึ่งเป็นร่าง พ.ร.บ.ที่ปรับปรุงเนื้อหาบางส่วนที่อยู่เดิมในพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550
      ทั้งนี้ ในร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ระบุถึงเหตุผลที่ต้องมีการแก้ไข พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฉบับปัจจุบันว่า “พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มีบทบัญญัติบางประการที่ไม่เหมาะสมต่อการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน…….ซึ่งมีรูปแบบการกระทำความผิดที่มีความซับซ้อนมากขึ้นตามพัฒนาการทางเทคโนโลยี ซึ่งเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว”

           สำหรับเนื้อหาของร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวมีสาระสำคัญดังนี้
มาตรา 4
 “ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่น โดยไม่เปิดโอกาสให้ผู้รับข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์สามารถบอกเลิกหรือแจ้งความประสงค์เพื่อปฏิเสธการตอบรับได้ อันเป็นการก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้รับ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 200,000 บาท”
มาตรา 5
กำหนดว่า ถ้าผู้ใดกระทำผิดใน 5 ประการ ได้แก่1.การเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกัน2.นำมาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะไปเปิดเผยโดยมิชอบ3.ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน4.ดักรับไว้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์ และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นมิได้มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะ และ5.ส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่น โดยปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มาของการส่งข้อมูลดังกล่าว
      ทั้งหมดต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1-7 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000 บาทถึง 140,000 บาท ที่สำคัญ ถ้าการกระทำความผิดดังกล่าวเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือโครงสร้างพื้นฐานอันเป็นประโยชน์สาธารณะ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1-10 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000 บาทถึง 200,000 บาท

      ส่วนเรื่องการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสร้างความเสียหายให้กับบุคคล ร่างกฎหมายฉบับนี้ก็ได้มีกระบวนการจัดการกับผู้กระทำความผิดเข้มข้นมากขึ้นด้วย
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ คอมพิวเตอร์
                                                                         Credit By:http://work-about-computer.blogspot.com/2011/09/blog-post.html
     
              โดนบัญญัติในมาตรา 10 ว่า “ผู้นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่นและภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน 200,000 บาท”

      มาตรา 10 ดังกล่าวเป็นการแก้ไขเพื่อเพิ่มบทลงโทษให้มากขึ้นโดยให้ผู้กระทำผิดต้องรับทั้งโทษจำคุกและโทษปรับ จากเดิมที่ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 กำหนดการกระทำความผิดในลักษณะที่ว่านั้นด้วยการต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

       ขณะเดียวกัน ในร่างกฎหมายที่ ครม.เสนอให้ สนช.พิจารณา ยังได้บัญญัติมาตรการทางศาลเพื่อช่วยเหลือผู้เสียหายด้วย โดยมาตรา 11 ระบุว่า “ในคดีซึ่งมีคำพิพากษาว่าจำเลยมีความผิด ศาลอาจสั่ง

(1) ให้ยึดและทำลายข้อมูล

(2) ให้โฆษณาคำพิพากษาทั้งหมดหรือแต่บางส่วนในสื่อที่ใช้ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ หรือหนังสือพิมพ์ ตามที่ศาลเห็นสมควร โดยให้จำเลยเป็นผู้ชำระค่าโฆษณา”

เช่นเดียวกับ มาตรา 20 ที่ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ที่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแต่งตั้ง ยื่นคำร้องพร้อมแสดงหลักฐานต่อศาลขอให้มีคำสั่งระงับการเผยแพร่หรือลบข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นออกจากระบบคอมพิวเตอร์ได้ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ในที่นี้มีด้วยกัน 4 ประเภท ดังนี้

(1) ข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.นี้

(2) ข้อมูลที่อาจกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรที่กำหนดไว้ในภาคสองลักษณะ 1 หรือลักษณะ 1/1 ตามประมวลกฎหมายอาญา

(3) ข้อที่เป็นความผิดอาญาต่อกฎหมายอื่นซึ่งเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายนั้นได้ร้องขอ และข้อมูลนั้นมีลักษณะขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน

(4) ข้อมูลที่ไม่เป็นความผิดต่อกฎหมายอื่นแต่มีลักษณะขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรืออันดีของประชาชน ซึ่งคณะกรรมการกลั่นกรองข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่รัฐมนตรีมีมติเป็นเอกฉันท์

      ชำแหละ พ.ร.บ.คอมพ์ฉบับใหม่เปิดช่อง “รมว.ไอซีที” คุมเบ็ดเสร็จทั้งอินเทอร์เน็ต-โซเชียลมีเดีย นักกฎหมายระบุอำนาจล้นฟ้า ตั้ง 2 คณะกรรมการกำกับ สั่งปรับ “คดีแฮก” ไม่ต้องขึ้นศาล ผู้ถูกกล่าวหาไม่มีสิทธิอุทธรณ์ สั่ง “บล็อกเนื้อหา” ได้ทุกประเภทเพื่อความสงบเรียบร้อย จ่อเข้า “สนช.” ศุกร์หน้า
      นายไพบูลย์ อมรภิญโญเกียรติ ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายคอมพิวเตอร์ และมีส่วนร่วมในการยกร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ร่าง พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฉบับใหม่ ซึ่งเพิ่งผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (19 เม.ย. 2559) มีความน่ากังวลหลายประเด็นแม้ว่าในภาพรวมจะมีการแก้ไขในประเด็นที่ร่างฉบับก่อนหน้านี้โดนวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก และที่น่าจับตาคือ มีการดึงอำนาจกลับไปให้รัฐมนตรีไอซีที หรือกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมที่กำลังจะตั้งขึ้นเยอะมาก จนเรียกว่า เกือบควบคุมระบบอินเทอร์เน็ตได้อย่างสมบูรณ์ ซึ่งบางประเด็นยอมรับได้ แต่ในหลายประเด็นถือว่าน่ากลัวมาก
ตั้ง 2 คณะกรรมการอำนาจล้น
นายไพบูลย์กล่าวว่า ที่น่ากังวลมากที่สุดคือ มาตรา 17/1 ให้อำนาจรัฐมนตรีไอซีทีตั้ง “คณะกรรมการเปรียบเทียบปรับ” ซึ่งกลายเป็นคณะกรรมการที่มีอำนาจมากกว่าศาล เนื่องจากระบุว่าหากเป็นการกระทำความผิดที่มีโทษปรับหรือจำคุกไม่เกิน 2 ปี คณะกรรมการชุดนี้มีอำนาจสั่งปรับได้โดยไม่ต้องนำคดีไปศาล และคดีก็จะถือว่าสิ้นสุด
      สำหรับความผิดภายใต้กรอบนี้มี 3 มาตรา คือ มาตรา 5 และมาตรา 7 คือการแฮกเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ โทษจำคุก 2 ปี กับความผิดเกี่ยวกับการเปิดเผยรหัสลับ ตามมาตรา 6 ตามกฎหมายคือโทษจำคุก 1 ปี ถือเป็นอาชญากรรมทางเศรษฐกิจที่ร้ายแรง จากเดิมที่ต้องเข้าสู่กระบวนการศาล แต่กฎหมายใหม่ให้ส่งไปคณะกรรมการชุดนี้ปรับแล้วคดีจบทันที ซึ่งที่ผ่านมาประเทศไทยมีการกระทำผิดหลายกรณีที่มีมูลค่าความเสียหายสูง อาทิ กรณีแฮกระบบ เติมเงินของโทรศัพท์มือถือ แล้วขโมยเงินไปได้หลายล้านบาท เท่ากับยกคดีที่มีมูลค่า เสียหายทางเศรษฐกิจไปให้คนกลุ่มหนึ่งชี้ขาดแทนศาล โดยไม่มีกระบวนการกลั่นกรอง กระบวนการอุทธรณ์ และฎีกา ซึ่งไม่มีประเทศไหนทำกัน
“ถ้ามองในแง่ร้ายจะกลายเป็นว่าเอาอำนาจตุลาการ อำนาจศาลมาอยู่ในรัฐมนตรีกับคณะกรรมการชุดนี้ แต่ร่างกฎหมายใหม่ของไทยกำลังจะบอกว่าความผิดแบบนี้จบได้ที่คณะกรรมการชุดนี้ และ ที่น่ากังวลมาก คือ ร่าง พ.ร.บ.ไม่ได้กำหนดคุณสมบัติของคณะกรรมการไว้ โดยให้ขึ้นอยู่กับรัฐมนตรีไอซีทีกำหนด ทั้งให้ถือเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาด้วย และที่น่ากลัวไปกว่านั้น คือ การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ ตาม พ.ร.บ.คอมพ์ตั้งแต่ปี 2550 ที่ผ่านมามีปัญหาตลอด ถือว่าเป็นความล้มเหลวได้ ทั้งการตั้งโดยตำแหน่ง ไม่ได้มาจากความรู้ ความสามารถ ถ้ามองในแง่ดีคืออาจไม่อยาก ให้คดีรกศาล หรือปิดคดีได้เร็วขึ้น แต่พอรวมให้คดีที่มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปีมาอยู่ในอำนาจของคณะกรรมการชุดดังกล่าวด้วย จึงมีคดีการแฮกข้อมูลด้วย ซึ่งถือเป็นเรื่องใหญ่ระดับประเทศ และเป็นวัตถุประสงค์หลักของการมี พ.ร.บ.นี้ จึงเป็นเรื่องน่ากลัว” นายไพบูลย์กล่าว
      ขณะที่มาตรา 20 เรื่องการบล็อกเว็บไซต์ เดิมจะบล็อกได้เฉพาะความมั่นคงและความผิดเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ แต่ร่าง พ.ร.บ.นี้ มาตรา 20 (3) บล็อกเนื้อหาที่ผิดทางอาญาตามกฎหมายอื่น และมาตรา 20 (4) บล็อกเนื้อหาที่ไม่ผิดกฎหมายอื่น แต่ขัด ความสงบเรียบร้อย สามารถร้องพนักงานเจ้าหน้าที่ แล้วส่งให้รัฐมนตรีเซ็นเพื่อขอให้ศาลสั่งบล็อกเว็บไซต์ได้เลย ทำให้ทุกความผิดอาญาในการบล็อกเนื้อหาจะใช้ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์แทน โดยตั้ง “คณะกรรมการกลั่นกรองข้อมูล” เพิ่มขึ้นมาโดยรัฐมนตรีไอซีทีเป็นผู้ตั้ง มีอำนาจในการวินิจฉัยบล็อกเว็บไซต์ได้
“เท่ากับว่าแม้ไม่ผิดกฎหมาย แต่รัฐบาลไม่โอเค คณะกรรมการชุดนี้สั่งบล็อกได้ เท่ากับปิดได้หมดทุกโซเชียลมีเดีย เข้าใจว่าตอนนี้รัฐบาลมีปัญหาเรื่องการปราบปรามการแพร่ข้อมูลผ่านสื่อใหม่เยอะ มาตรา 20 (4) ตอบโจทย์เรื่องนี้ได้ แต่จะมีคำถามเดิม คือ คณะกรรมการเป็นใครมาจากไหน เพราะคนกลุ่มนี้มีอำนาจปิดบล็อกทุกอย่างในประเทศนี้”
      และการพิจารณาในรูปแบบของคณะกรรมการ กระบวนการอุทธรณ์จึงไม่มี ช่องทางทำได้เลย ไม่สามารถโต้แย้งได้ ซึ่งไม่ยุติธรรมกับทั้งผู้เสียหายและผู้กระทำความผิด
       ทั้งนี้การที่ร่าง พ.ร.บ.ไม่ได้กำหนดคุณสมบัติ และความรับผิดใด ๆ ของคณะกรรมการชุดนี้ แม้ต่อไปจะบอกว่าจะมีการออกกฎกระทรวงมารองรับ แต่ก็เป็นอำนาจเด็ดขาดของรัฐมนตรีที่จะออกประกาศอะไรก็ได้
อุดช่องโหว่ปัญหา “สแปม”
นายไพบูลย์กล่าวว่า ส่วนที่แก้ไขได้ดีขึ้น คือ การปิดข้อกังวลเกี่ยวกับปัญหาสแปม หรือการส่งข้อความไม่พึงประสงค์ ซึ่งร่างเดิมระบุว่า หากมีการส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรืออีเมล์ โดยไม่ได้เปิดให้ผู้รับแสดงเจตนาปฏิเสธได้ จะถือว่าเป็นความผิด โทษปรับถึง 2 แสนบาท ทำให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติ เพราะการส่งข้อความในสื่อโซเชียลมีเดีย ไม่มีฟังก์ชั่นให้ผู้รับแจ้งได้ว่าจะรับหรือไม่รับข้อความ ทำให้ผู้ส่งมีความผิดได้ทันที
“ร่างฉบับใหม่มีการปรับแก้ โดยให้รัฐมนตรีไอซีทีออกประกาศแนวทางว่าการรับส่งข้อมูลแบบไหนที่ไม่เข้าข่าย ม.11 สามารถระบุได้ว่า การส่งข้อความผ่านโซเชียล มีเดียแบบไหนที่ไม่ผิดกฎหมาย แต่ที่น่ากังวล คือ ผู้จัดทำร่างประกาศ ทีมงานของรัฐมนตรีจะมีความเข้าใจถึงเรื่องพวกนี้มากแค่ไหน”
ส่วนปัญหามาตรา 14 การนำเข้าข้อมูลสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ร่างฉบับใหม่ เพิ่มคำว่า “โดยทุจริตกับโดยหลอกลวง” ทำให้ปัญหาของมาตรานี้ ที่เกรงว่าจะถูกนำไปใช้ในคดีหมิ่นประมาทถูกตัดไป ทำให้กลายเป็นความผิดกรณี “ฟิชชิ่ง” คือ ต้องเป็นการเผยแพร่ข้อมูลอันเป็นเท็จแก่ประชาชนโดยการหลอกลวง ให้เกิดประโยชน์กับตนเอง ซึ่งจะตรงกับวัตถุประสงค์ของกฎหมายมากกว่า ขณะเดียวกันยังนำความผิดในการเผยแพร่เกี่ยวกับสิ่งลามกอนาจารกลับเข้ามาใหม่ โดยรวมถือว่าพอยอมรับได้

      ขณะที่มาตรา 15 ว่าด้วยความผิดของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) หรือเจ้าของเว็บไซต์ เฟซบุ๊ก ที่เปิดให้มีการแสดงความเห็น จะต้องเป็นผู้รับผิดจากการยินยอมให้เผยแพร่ข้อมูลหรือไม่ ร่างฉบับใหม่ได้แก้ให้อำนาจรัฐมนตรีไอซีที ออกประกาศว่าต้องมีกรอบ ขั้นตอนอย่างไรบ้าง ที่จะทำให้ไม่ผิดตามมาตรานี้ แต่ประกาศจะออกมาอย่างไร ยังเป็นคำถาม ซึ่งขึ้นอยู่กับคณะทำงานว่าเข้าใจประเด็นต่าง ๆ มากแค่ไหน เพราะจะกลายเป็นว่ารัฐมนตรีมีอำนาจเข้าไประบุได้ว่าการใช้โซเชียลมีเดียของทุกคน เขียนอะไรได้หรือไม่ได้บ้าง คือ โดยเจตนารมณ์ดี แต่ถ้ามีประกาศที่ห้ามไปหมดทุกอย่างก็จะกลายเป็นการละเมิดสิทธิ์ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตได้
Photobucket - Video and Image Hosting

แก้ไม่ตรงจุดฉุดธุรกิจ

   
         ด้านนางภูมิจิต ศิระวงศ์ประเสริฐ ประธานชมรมผู้ประกอบการเว็บโฮสติ้ง กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ชมรมเห็นประโยชน์ของการมี พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ เพราะอาชญากรรมในโลกออนไลน์ส่งผล กระทบกับการทำงานของผู้ประกอบการในธุรกิจนี้ หากมีกฎหมายออกมาช่วยได้ก็เป็นสิ่งที่ดี แต่ควรโฟกัสเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับ การสร้างความเสียหายกับระบบต่าง ๆ ไม่ควรรวมถึงเรื่องคอนเทนต์ ไม่ว่าจะเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์, การพนัน หรือยาเสพติด เป็นต้น เนื่องจากเป็นการผลักภาระมาที่ ผู้
ประกอบการ ซึ่งจะเป็นการทำลายธุรกิจ และผลักดันให้หนีไปตั้งเซิร์ฟเวอร์ต่างประเทศ เพราะหากเปิดในประเทศยุ่งยาก
“เราอยากให้มีกฎหมายเกี่ยวกับคอนเทนต์ แยกต่างหากออกมา ไม่ควรไปรวมอยู่ใน พ.ร.บ.คอมพ์ ถ้ากฎหมายไม่เอื้อต่อธุรกิจ ก็ต้องหนีไปที่อื่น ไม่ใช่ปิดธุรกิจแต่ย้ายฐาน ไปที่อื่น นี่คือสาเหตุที่ต่างชาติไม่เข้ามา ลงทุนในบ้านเราด้วย ซึ่งสวนทางกับนโยบายดิจิทัลอีโคโนมี ดังนั้นการแก้ไขกฎหมายควรมองอย่างรอบด้าน และมีความเข้าใจเทคโนโลยี เพราะถ้าไม่ถูกจุดนอกจากจะจับผู้ร้ายไม่ได้แล้วยังทำให้ธุรกิจไปต่อไม่ได้ด้วย”
พลเมืองเน็ตชี้ขัดหลัก กม.
นายอาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล ผู้ประสานงานเครือข่ายพลเมืองเน็ต กล่าวว่า ร่าง พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ฉบับใหม่ น่าจะเป็นความพยายาม ของฝ่ายบังคับใช้กฎหมายที่มองว่ามีคดีไปที่ศาลเยอะซึ่งเสียเวลานาน จึงต้องการพยายามที่จะนำคดีที่มีโทษปรับ หรือโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี มาอยู่ภายใต้การพิจารณาของคณะกรรมการเพื่อลดภาระของศาล อย่างไรก็ตาม ในการจัดตั้งคณะกรรมการ ตามอำนาจ รมว. ไอซีที ที่น่ากังวลคือกฎหมายไม่มีการกำหนดคุณสมบัติขั้นต่ำของคณะกรรมการเลย
      นอกจากนี้ในส่วนแก้ไขมาตรา 20 ส่วนที่เป็นปัญหามากที่สุด ได้แก่ มาตรา 20 (4) ที่มีการเพิ่มความผิดเกี่ยวกับข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ “ไม่เป็นความผิดต่อกฎหมายอื่น” อันมีลักษณะขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน โดยคณะกรรมการกลั่นกรองข้อมูลคอมพิวเตอร์ สามารถยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งระงับทำการแพร่หลายคือลบข้อมูลได้นั้น ประเด็นนี้ในทางปฏิบัติน่าจะมีปัญหา เนื่องจากร่างกฎหมายดังกล่าวขัดกับหลักการกระทำ ความผิดโดยไม่มีกฎหมายรองรับ ซึ่งนำไปสู่ การระมัดระวังในการแสดงความคิดเห็นมากขึ้น และยังอาจทำให้ผู้ให้บริการ ISP เลือกที่จะถอดเนื้อหาที่ถูกฟ้องร้องออกจาก เว็บไซต์ของตนโดยไม่รอคำสั่งศาลเพื่อความปลอดภัย
รมว.ไอซีทีเตรียมชี้แจง สนช.เอง
      นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ในวันศุกร์ที่ 29 เม.ย.นี้ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีวาระจะพิจารณาร่าง พ.ร.บ. 3 ฉบับ ซึ่งผ่านการพิจารณาจากคณะรัฐมนตรีแล้ว ได้แก่ พ.ร.บ.การพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พ.ศ. …ที่มีการทบทวนใหม่โดยกระทรวงไอซีที และร่าง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) พ.ศ. …และร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับ คอมพิวเตอร์ (ฉบับที่…) พ.ศ. …
โดยขณะนี้ได้เตรียมตัวสำหรับการชี้แจงหลักการของการยกร่างกฎหมายแต่ละฉบับด้วยตนเอง หาก สนช.เห็นชอบก็จะถือว่าร่างกฎหมายทั้ง 3 ฉบับผ่านการพิจารณาวาระแรก จากนั้นจะตั้งคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างกฎหมายแต่ละฉบับเป็นรายมาตรา เพื่อให้มีการปรับแก้ ก่อนส่งกลับให้ สนช.ลงมติในการพิจารณาวาระที่ 3 และเตรียมประกาศบังคับใช้ต่อไป
“ตอนนี้ยังบอกไม่ได้ว่าจะใช้เวลาแค่ไหนก่อนที่กฎหมายจะประกาศใช้ ต้องหารือกับวิป สนช.ก่อน แต่จะดำเนินการให้เร็วและรอบคอบที่สุด”
รัฐมนตรีไอซีทีกล่าวว่า ในส่วนของร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ จำเป็นต้องมีการปรับปรุงเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน เพราะฉบับเก่าประกาศใช้มาหลายปีแล้ว โดยมุ่งให้ส่งเสริม และสอดคล้องกับนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลของรัฐบาล จึงต้องประสานเชื่อมต่อกับกฎหมายฉบับอื่น ๆ เพื่อแก้ปัญหาในภาพรวม อาทิ ปัญหาด้านลิขสิทธิ์ ทรัพย์สินทางปัญญา การพนันออนไลน์
“การแก้ไขครั้งนี้ได้ทำให้มีความชัดเจนขึ้นในหลายมาตรา อาทิ ที่เกี่ยวกับการทุจริตฉ้อโกง เพราะกำลังจะส่งเสริมให้มีการค้าออนไลน์มากขึ้น แต่ที่ผ่านมามีหลายกรณีที่เข้าศาลแล้วก็หลุดเยอะ ต้องสร้างความมั่นใจให้ผู้ซื้อผู้ขาย รวมถึงส่วนของอำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ต้องให้ชัดเจน เพราะเป็นประเด็นที่มีการถามเยอะว่า มีน้อยไป มากไปหรือไม่ ก็เข้าใจว่าต้องมีการวิพากษ์วิจารณ์ แต่ยืนยันว่าจะไม่ยอมให้มีส่วนไหนของกฎหมายขัดกับนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลเด็ดขาด”
กรณีที่มีข้อกังวลเรื่องอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการที่รัฐมนตรีไอซีทีจะตั้งขึ้น 2 ชุด ยืนยันว่าจะมีการออกกฎหมายลูกมารองรับให้มีความชัดเจนขึ้น ซึ่งไม่ใช้แค่ดุลพินิจของรัฐมนตรีไอซีทีเท่านั้น ต้องให้ ครม.เห็นชอบด้วย เพราะต้องออกแบบเผื่อไว้สำหรับรัฐมนตรีในรัฐบาลชุดต่อ ๆ ไป จึงต้องมีหลักการที่ชัดเจน
“ยืนยันว่ากระบวนการทางศาลทุกอย่างยังเหมือนเดิม การดำเนินคดี การบล็อกเว็บไซต์หรือข้อมูลต่าง ๆ ต้องไปจบที่ศาล เพียงแต่จะมีการทำบางกระบวนการให้กระชับขึ้นเท่านั้น”



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น